มองให้เห็นนะครับ
วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
Thickness Monitoring on Sulfuric Storage
Tank - Vent Nozzle;
ทิ้งทายเรื่องงานตรวจสอบความหนา (Thickness
monitoring) ของ
Sulfuric
acid storage tank ด้วยภาพ
Computed
Profile Radiography (CRT) ของ Vent
nozzle
ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งในถังที่อาจจะเกิด Corrosion
รุนแรงได้
เนื่องจาก Vent nozzle นั้นมีอากาศเข้า
และไอกรดระเหยออก อยู่ตลอดเวลา…
วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
Thickness Monitoring on Sulfuric Storage
Tank - Part 2;
กลับมาต่อกันที่ผลการวัดความหนาของถังใส่กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น
98%wt
ที่ใช้งานมาประมาณ
12
ปี
กันนะครับ
ใน Case นี้
เพื่อให้ได้รูปแบบของความหนาที่เหลืออยู่ของถัง (Thickness
profile) จะใช้การวัดความหนาในช่วงกึ่งกลางของถังตามแนว
Vertical
ทั้งหมด
5
แถว
ไล่ตั้งแต่หัว กลาง และท้ายถัง (เส้น
A,B,C,D, และ
E ในรูป
Sketch)
เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของความหนาทั้งหมดของถัง โดยใช้วิธีเป็น Grid UTM
ตามแนวเส้นที่ลากไว้
2) ทีนี้มาลองดู
Profile
ความหนาของแต่ละแถวเทียบกัน
เราจะเห็นว่า Corrosion จะเกิดขึ้นด้านทิศใต้ของถัง
(ขวามือในรูป Sketch) มากกว่าอีกด้านทิศเหนือ
(ซ้ายมือในรูป Sketch)
บางครั้งในงานตรวจสอบอาจจะต้องมองภาพรวมทั้งหมดด้วยถึงจะเข้าใจ
ใครมีความเห็นหรือประสบการณ์อื่นๆ มาร่วมแชร์กันได้นะครับ
by Mo Thanachai
ทีนี้ลองสังเกตดู
Thickness profile ที่ได้จากการวัดความหนา;
1) จาก Profile
ความหนาในแต่แถว
เราจะเห็นว่าที่ระดับประมาณกึ่งกลางของถังจะมีความหนาเหลือน้อยที่สุด หรือมี Corrosion
เกิดขึ้นมากที่สุดนั่นเอง
และจากจุดกึ่งกลาง Corrosion ก็จะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ
ตามระดับที่สูงขึ้น และต่ำลง
จาก Thickness
profile ที่ได้ พอจะหาคำตอบกันได้มั้ยครับ
ว่าทำไม Profile ความหนาของถังถึงเป็นแบบนี้??
และเกิดอะไรขึ้นด้านในถัง???
…
..
.
คำตอบคือ “การใช้งาน
Sulfuric acid storage tank” ทำให้เกิดลักษณะของ Corrosion
แบบนี้ขึ้นครับ
อธิบายได้ประมาณนี้;
1) ในการใช้งานถัง
ระดับของกรดซัลฟิวริกที่อยู่ในถัง (Operating
level)
จะค้างตรงกลางถังนานที่สุด เนื่องจากเป็นจุ ที่ Diameter
ขอ
จึงทำให้เกิด Waterline Corrosion ที่ตรงบริเวณกึ่งกลางของถังมากที่สุด
2) ตอนที่นำกรดซัลฟิวริกที่อยู่ในถังไปใช้งานก็จะต้องมีอากาศ
(Moist
Air)
เข้ามาแทนที่ทาง Vent nozzle ซึ่งก็นำออกซิเจนและน้ำเข้ามาด้วย
ออกซิเจนและน้ำที่เข้ามาก็จะไปทำให้ความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกที่อยู่บนผิวลดลงต่ำกว่า
98%wt
และเกิด
Corrosion
รุนแรงขึ้น
ซึ่งเราจะเห็นว่าบริเวณที่เกิด Corrosion
รุนแรง
(ด้านขวามือ) ก็อยู่ตรงตำแหน่งของ Vent
nozzle พอดี
by Mo Thanachai
หัวข้อที่เกี่ยวข้องที่ได้แชร์แล้ว เข้าไปดูได้ใน
Post
ก่อนหน้านี้เลยนะครับ;
-
Thickness Monitoring on Sulfuric Storage Tank
Part 1.
-
Corrosion inside Storage Tanks – Waterline Corrosion.
-
Corrosion inside Storage Tanks – Why Storing
98%wt H2SO4 in Carbon Steel Tank?.
-
Corrosion inside Storage Tanks – Sulfuric
Acid (H2SO4) Corrosion.
วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
Corrosion inside Storage Tanks – Sulfuric
Acid (H2SO4) Corrosion;
ทุกคนทราบกันดีว่า
กรดมีฤทธิ์กัดกร่อน
กรดซัลฟิวริกก็เช่นเดียวกันมีฤทธิ์กัดกร่อนเหล็กโดยเฉพาะกับเหล็ก Carbon
steel
กรดซัลฟิวริกจะทำให้เกิดการกัดกร่อนได้ทั้งในรูปแบบของ
General
Corrosion และ
Localized
Corrosion โดยเราอาจจะพบ
Corrosion
รุนแรงได้ที่
Heat
affected zone หรือ
HAZ
ของแนวเชื่อมของวัสดุ
Carbon
steel
ทั้งเพราะว่าเป็นบริเวณที่วัสดุมีความแตกต่างกันระหว่างเนื้อเชื่อมและ Base
material
ความรุนแรงของการกัดกร่อน (Corrosiveness)
หรืออัตราการกัดกร่อน
(Corrosion
rate) จะขึ้นกับอุณหภูมิและความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกเป็นหลัก
และนอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของความเร็วในการไหลของกรด
รวมถึงปริมาณของออกซิเจนในกรด
ที่จะมีผลต่อความรุนแรงของการกัดกร่อน
ลองดูตาราง Estimated Corrosion
Rate จากใน
API
RP 581 RBI Technology สำหรับ
Carbon
steel จะเห็นว่า…
(1) อุณหภูมิสูงขึ้น
จะทำให้เกิดการกัดกร่อนรุนแรงขึ้น (Corrosion
rate สูงขึ้น)(2) Corrosion rate จะต่ำสุดที่ความเข้มข้นของกรดซัลฟิวริกเท่ากับ 98%wt และจะมีค่าสูงขึ้นเมื่อความเข้มข้นเปลี่ยนไป
(3) ความเร็วในการไหล (Acid Velocity) มากขึ้น หรือกรดไหลเร็วขึ้น Corrosion ก็จะรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ถ้าเป็นถังเก็บก็ถือว่าความเร็วเป็นศูนย์นะครับ
..
.
วนออกไปเรื่อง Corrosion ซะนาน เดี๋ยวสัปดาห์หน้าจะกลับไปที่การวัดความหนาถัง Sulfuric acid storage tank กันต่อครับ
by Mo Thanachai
วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
Corrosion inside Storage Tanks – Why
Storing 98%wt H2SO4 in Carbon Steel Tank?;
ก่อนจะพูดถึง Sulfuric Acid (H2SO4) Corrosion เคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไมเราต้องเก็บกรดซัลฟิวริกที่ความเข้มข้น 98%wt ในถัง Carbon Steel ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ต้องการใช้งานมันที่ความเข้มข้นนี้ [ต้องนำไปผสมน้ำ (Dilute) เพื่อให้ได้ความเข้มข้นที่ต้องการก่อนใช้งาน] ???
…
หลายคนรู้คำตอบอยู่แล้วหรือมีคำตอบอยู่ในใจ...
..
.
คำตอบคือ ที่ความเข้มข้นประมาณ 98%wt
H2SO4 จะเกิดการกัดกร่อนวัสดุ
Carbon
Steel น้อยที่สุด
หรือมี Corrosion Rate ต่ำที่สุดนั่นเอง
ทำให้เราสามารถใช้งานถังได้ยาวนานกว่าการเก็บกรดซัลฟิวริกที่ความเข้มข้นอื่นๆ
กราฟ Sulfuric
acid
corrosion rate จาก API
RP 571
Damage Mechanisms ใน slide
บอกเราว่าที่อุณหภูมิ
24
องศาเซลเซียส
กรดซัลฟิวริกความเข้มข้น 98% จะมี Corrosion
rate 5 mpy
(mils per year)
หรือ 0.127
mm/yr แต่ถ้าความเข้มข้นเป็น 93% จะมี
Corrosion
rate 20 mpy หรือ 0.508
mm/yr ซึ่งต่างกัน
4
เท่า!
...
ทุกอย่างล้วนมีเหตุและผลของมันครับ
..
.
ครั้งหน้าจะมาต่อเรื่อง Sulfuric
Acid Corrosion แบบเต็มๆ นะครับ
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
Corrosion inside Storage Tanks –
Waterline Corrosion;
จากสัปดาห์ที่แล้ว
ก่อนที่จะไปต่อเรื่องการตรวจวัดความหนาของถังใส่กรดซัลฟิวริก
ผมขอคั่นด้วยรูปแบบของการกัดกร่อนที่มักเกิดขึ้นในถังบรรจุสารเคมีและถังน้ำที่เรียกกันว่า
Waterline
Corrosion
Waterline
Corrosion เกิดจากปริมาณของ
Oxygen
ที่อยู่เหนือ
Liquid
level (water level)
และบริเวณอยู่ต่ำกว่า
Liquid
level ไม่เท่ากัน ทำให้เกิด
Differential
Oxygen Concentration Cell นั่นคือ Area ที่อยู่ด้านบนของ
Water line ที่มี
Oxygen
มากจะเป็น
Cathode
และ
Area
ที่อยู่ต่ำกว่า
Water
line ซึ่งมี
Oxygen
น้อยจะเป็น
Anode และส่วนที่เป็น
Anode
ก็จะเกิด
Corrosion ลักษณะเป็นวงรอบถัง
ดังนั้นบริเวณที่จะเกิด Corrosion
มากที่สุดก็จะเป็นบริเวณที่อยู่ต่ำกว่า
Liquid
level มานิดนึง (ดูรูปประกอบนะครับ)
…
..
.
ยังมี Corrosion อีกรูปแบบนึงที่เกี่ยวข้องกับงานนี้
นั่นก็คือ
Sulfuric
Acid Corrosion
เดี๋ยวครั้งหน้ามาเล่าต่อครับ
by Mo Thanachai วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
Thickness Monitoring on Sulfuric Storage
Tank - Part 1;
ทิ้งท้ายวันศุกร์ด้วยเรื่องงานตรวจสอบถังบรรจุสารเคมีกันครับ
(แต่วันนี้คงได้แค่เกริ่น)
งานนี้เป็นการตรวจวัดความหนาของถังทรงแคปซูลที่ใส่กรดซัลฟิวริก
98%wt (Sulfuric acid,
H2SO4)
ซึ่ง In-service
อยู่
(On-Stream
Inspection)
โดยข้อมูลของถังใบนี้ก็เป็นไปตามที่เขียนอยู่ใน Slide
ในการวัดความหนาของถังใบนี้
มีบริเวณที่ต้องการวัดความเป็นพิเศษ
นั่นคือช่วงกึ่งกลางของถังตาม Vertical
โดยใช้วิธีการเป็น
Spot
UTM
หลายๆ จุดไล่ขึ้นลงตามแนวดิ่ง และใช้แนวเชื่อมกับ Saddle
support ของถังเป็นจุดอ้างอิง ตามรูป
Sketch
....…
? ทำไมถึงวัดความหนาแบบนี้
?? Pattern ของความหนาที่วัดมาได้เป็นอย่างไร
??? เกิดอะไรขึ้นด้านในถัง
..
.
เดี๋ยวสัปดาห์หน้ามาเล่าให้ฟังต่อนะครับ
by Mo Thanachai
วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
Why we change colors between lining coats ???;
ทำไมเวลาทาหรือพ่น Lining หลายๆ ชั้นเพื่อให้ได้ความหนาตามที่ต้องการ ถึงต้องใช้สี (color) ของแต่ละชั้น (coat) ที่แตกต่างกัน???
.
..
...
คำตอบอยู่ใน slide นะครับ
by Mo Thanachai
วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
Always smoothing sharp edges and
protrusions before apply lining;
หายหน้าหายตาไปนาน วันนี้ขอขุดเอา Case
Study เก่าๆ
มาแชร์
เกี่ยวกับการทำสี Lining (epoxy)
เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของถังบรรจุสารเคมี
Liquid
Alum (Aluminium
Sulfate)
….
การทำ Lining
นั้นนอกเหนือจากการเลือกชนิดของสี
(Lining) ที่เหมาะสมกับสารเคมีแล้ว
การเตรียมพื้นผิวก็สำคัญมากไม่แพ้กัน
…
เพื่อให้ Lining
material ยึดเกาะกับพื้นผิวได้ดี
เราเน้นที่ ความสะอาด และ Surface profile (roughness) แต่อาจจะลืมคิดถึงในส่วนของพื้นผิวที่เป็นมุม
เป็นเหลี่ยม (Sharp edges)
ส่วนที่ยื่นออกมาจากพื้นผิว (Protrusions)
รวมไปถึงแนวเชื่อม
(Weld
reinforcement, Root protrusion) ซึ่งบริเวณพวกนี้จะทำให้การทาสีอย่างทั่วถึงทำได้ยาก
.
ในรูปเป็นงานซ่อมถังสารเคมีที่มีการตัดเปลี่ยน
Nozzle
ซึ่งหลังจากซ่อมเสร็จก็มีการทำ Lining
โดยที่ไม่ได้เตรียมผิวในส่วนที่เป็น
Weld
protrusion ตรงแนวเชื่อมระหว่าง
Nozzle
neck กับ
Weld
neck flange ให้
Smooth
ก่อน
ผลลัพธ์ก็อย่างที่เห็นในรูปครับ...รั่ว!
..
รูปถ่ายด้านใน Nozzle
บริเวณแนวเชื่อมจะเห็นได้ชัดว่ามีบางจุดที่ทา
Lining
ไม่ทั่วถึง จึงทำให้จุดนี้โดนกัดกร่อนและรั่วในที่สุด
…
ดังนั้นถ้าหากมีงานซ่อมหรืองานสร้างถังที่ต้องมีการทำ Lining
ก็อย่าลืมกำชับช่างเชื่อมให้ทำแนวเชื่อมให้ Smooth
และที่สำคัญอย่าลืมไปตรวจพื้นผิวก่อนที่จะ
apply
Lining กันด้วยนะครับ
by Mo Thanachai
by Mo Thanachai