วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

Cyclone Separator; 

Cyclone separator ใช้การหมุนของ Flow ที่เข้ามาและแรงโน้มถ่วง (gravity) ในการแยกฝุ่นหรือ Particle ต่างๆ ออกจาก gas/liquid stream หรือใช้ในการแยกละอองน้ำที่ปนมากับ gas stream By Mo Thanachai


วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2559

Erosion by Steam and Condensate (Case Study 3); 
เมื่อ Liquid Condensate วิ่งผ่าน Control valve บางส่วนจะเปลี่ยนเป็น Flash steam ทำให้กลายเป็น Two phase flow และทำให้การไหลปั่นป่วน (Turbulent) ส่งผลให้เกิด Erosion ขึ้น โดยเฉพาะบริเวณจุดปะทะตามข้อต่อข้องอต่างๆ (Elbow, Tee) By Mo Thanachai



วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

Erosion by Steam and Condensate (Case Study 2); 
Erosion ที่บริเวณตรงข้าม Tee fitting ของท่อ Low pressure steam condensate เกิดจากการปะทะของ Two-phase flow (Flash steam + Liquid condensate) จากท่อที่นำ Condensate จาก Steam trap ที่มารวมกัน By Mo Thanachai



วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

Erosion by Steam and Condensate (Case Study 1); 
Erosion ในท่อ Branch ของ line Medium pressure (MP) steam ที่แยกออกไปยัง Steam trap เกิดขึ้นบริเวณข้องอ (Elbow) ที่เป็นจุดปะทะของ Flow โดย Steam flow ใน Line ที่วิ่งไป Steam trap นั้นมีลักษณะเป็น Two phase By Mo Thanachai


วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559

Erosion by Steam and Condensate; 
Erosion หรือการกัดเซาะโดย Steam และ Steam Condensate เกิดจากการที่ Steam/Condensate ในระบบของเรานั้นมีสถานะ Two-phase เกิดขึ้น นั่นคือมี ไอ Steam ปนกับ น้ำ Condensate ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิด two-phase นั้นมาจาก By Mo Thanachai
  1. Steam สูญเสียความร้อนและพลังงานจากการวิ่งผ่านท่อ ทำให้ Condense เป็น liquid condensate
  2. การใช้งาน Steam ในการแลกเปลี่ยนความร้อนในอุปกรณ์ Heat exchanger ทำให้มี liquid condensate เกิดขึ้น
  3. น้ำ Condensate ในระบบสามารถระเหย (flash) เป็น Steam vapor ได้ เมื่อความดันในท่อเปลี่ยนจากความดันสูงมาเป็นความดันต่ำ เช่น ตรงบริเวณ Outlet ของ Steam trap



วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559

Barlow’s Formula; 
Barlow’s Formula เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง Internal Pressure และท่อที่สามารถใช้งานได้ ขึ้นกับขนาดและความแข็งแรงของวัสดุ ซึ่ง Barlow’s Formula นั้นเป็นสูตรพื้นฐานในที่ใช้ในการคำนวณความหนาของ Straight pipe และ Cylindrical pressure vessel shell ใน  ASME Code By Mo Thanachai



วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2559

Allowable Stress vs. Temperature; 

ที่อุณหภูมิสูงขึ้นวัสดุโลหะจะมีความแข็งแรงลดลง ดังนั้น ASME Code จึงอนุญาตให้ใช้ค่า  Allowable Stress ในการออกแบบ Pipe หรือ Pressure vessel ที่ลดลงตาม Design Temperature ที่สูงขึ้น By Mo Thanachai


วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

Allowable Stress “S”; 
สำหรับ ASME Code,  การออกแบบ Pressure vessel หรือ Pipe นั้น Code จะให้ใช้ค่า Tensile stress ของแต่ละ Material ที่กำหนดไว้ในการคำนวณ
Stress ที่ Code กำหนดหรืออนุญาตให้ใช้นั้นเรียกว่า Allowable Stress “S” ซึ่งจะเท่ากับ Specified Minimum Tensile Strength (SMTS) หารด้วย Safety Factor ของ Code นั้นๆ By Mo Thanachai


วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2559

Specified Minimum Tensile Strength (SMTS); 

ใน ASME Code, Specified Minimum Tensile Strength หรือ SMTS หมายถึงความเค้น (Stress) ที่ต่ำที่สุด ที่สามารถทำให้วัสดุ (Material) เสียหายหรือขาดออกจากกันได้ด้วยแรงดึง (Tension) ซึ่งจะได้จากการทดสอบแรงดึง (Tensile Test) โดยมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Ultimate Tensile Strength By Mo Thanachai



วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

Valve – Pressure Test Duration; 
ระยะเวลาขั้นต่ำในการทำ Pressure Test (Hydrostatic/Pneumatic) ของ Valve ตามตารางใน API 598 โดยที่ ระยะเวลาในการทดสอบ (Test Duration) หมายถึง ช่วงเวลาที่เราใช้ในการตรวจสอบหาการรั่วของ Valve หลังจากที่สามารถคงความดันไว้ที่ Test pressure ได้แล้ว By Mo Thanachai



วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2559

Gate Valve – Hydrotest Seat; 
Hydrostatic Closure Test หรือ Seat Test ให้ทำการทดสอบต่อจาก Shell Test ที่ความดันไม่น้อยกว่า 1.1 เท่าของ Maximum Operating Pressure โดยปิดวาล์วจนสุด (fully close) จากนั้นตรวจสอบการรั่วผ่าน Seat และ Disk โดยต้องทำการทดสอบทั้งสองด้านของ Gate Valve By Mo Thanachai



วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

Gate Valve – Hydrotest Shell; 
Hydrostatic Shell Test ต้องทำการทดสอบที่ความดันไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของ Maximum Operating Pressure โดยเปิดวาล์วบางส่วน (partially open) และขัน gland ให้แน่นเพื่อรับความดัน จากนั้นตรวจสอบการรั่วผ่าน Shell By Mo Thanachai



วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

Gate Valve – Hydrotest Backseat; 
Hydrostatic Backseat Test ต้องทำการทดสอบที่ความดันไม่น้อยกว่า 1.1 เท่าของ Maximum Operating Pressure โดยเปิดวาล์วจนสุด (fully open) และคลาย gland ของ gate valve เพื่อตรวจสอบการรั่วผ่าน Backseat By Mo Thanachai



วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559

Gate Valve - Hydrotest;

การทำ Hydrostatic Test สำหรับ Gate Valve ต้องทำการทดสอบด้วยกันทั้งหมด 3 ส่วน คือ Shell, Seat, และ Backseat 
By Mo Thanachai


วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2559

Gate Valve Working; 
การทำงาน (การเปิดปิด) ของ Gate Valve ครับ by Mo Thanachai

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

Gate Valve Component; 
Gate Valve ใช้ในการเปิด-ปิดการไหลเท่านั้น ไม่นิยมนำมาใช้ในการควบคุมการไหล โดยมีส่วนประกอบดังนี้นะครับ