วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Heat Exchanger U-Tube - Reduced Thickness & Bend Flattening per TEMA;

Tube ของ Heat Exchanger ที่เป็นรูปแบบ U-tube จะต้องนำ Tube ตรง มาดัด (bend) ให้เป็นรูปตัว “U” หรือที่เราเรียกว่า “U-bend”
การนำ Tube ตรงมาดัดโค้งอาจะทำให้ Tube เสียรูปได้ โดยความหนาของ Tube ตรงส่วน Outer radius จะลดลง (Thinning) และ Tube ที่ถูกดัดมาจะแบนหรือมีหน้าตัดเป็นรูปวงรี (Flattening) ดูรูปประกอบกันนะครับ
ดังนั้นใน Standard ของ TEMA (Tubular Exchanger Manufacturers Association) จึงมีการกำหนด Criteria มาให้ ดังนี้;
..
.
1. ความหนาของ Tube ที่ลดลงต้องไม่เกิน 17% ของ Original wall thickness
..
2. ความแบน หรือความไม่กลม (Out of roundness) ของ Tube จะสามารถวัดได้จาก Outside diameter ที่ลดลงหรือเพิ่มขึ้น หลังจากที่เราทำการ Bend เทียบกับ Nominal outside diameter ซึ่งตาม Standard ผลต่างระหว่าง Maximum diameter และ Minimum diameter จะต้องไม่เกิน 10% ของ Nominal outside diameter ของ Tube ครับ
ใครมีเพิ่มเติมลองแชร์กันดูนะครับ
by Mo Thanachai 



วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561

Corrosion Under Insulation (CUI) – Tower with Cold Insulation;

ต่อเนื่องกันกับ CUI ในงาน Shutdown Inspection & Maintenance ของ Column หรือ Tower ที่หุ้มด้วย Cold Insulation…
..
ภาพที่เห็นบอกอะไรเรา?
.
1) แม้ว่าจะเป็น อุปกรณ์ ที่หุ้ม Cold Insulation, CUI ก็เกิดได้ ถ้าอุณหภูมิใช้งานอยู่ในช่วง CUI range (-12 C ถึง 175 C สำหรับ Carbon steel ตาม API RP 583) และมีน้ำเข้าไป
..
2)  ขณะที่ Tower กำลังทำงาน อุณหภูมิของ Tower ด้านบน (Top) จะต่ำ ส่วนด้านล่าง (Bottom) จะสูงกว่า ดังนั้น CUI อาจจะเกิดแค่บางส่วนของ Tower หรือเกิดรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละ Section

3) อุณหภูมิ (Metal Temperature) มีผลต่อความรุนแรงในการเกิด CUI โดยอุณหภูมิในช่วง 77 – 110C จะเกิด CUI รุนแรงที่สุด และ ความรุนแรงจะลดลงเมื่ออุณหภูมิต่ำลง  ซึ่งจะเห็นว่าส่วนด้านล่างของ Tower ในรูปจะเกิด CUI รุนแรงกว่ามาก

..
.
ถ้าเป็น Tower ที่ใช้งานที่อุณหภูมิต่ำ(ติดลบ) ก็ต้องรีบซ่อมแซมและหุ้ม Cold Insulation กลับ ให้เสร็จในช่วง Shutdown ครับ
by Mo Thanachai 



วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2561


Corrosion Under Insulation (CUI);

CUI ในรูปพึ่งเจอมาในงาน Shutdown Inspection & Maintenance ซึ่งสิ่งที่เห็นบอกกับเราว่า
.
1) CUI เกิดได้ ถ้าอุณหภูมิใช้งานอยู่ในช่วง CUI range (-12 C ถึง 175 C สำหรับ Carbon Steel Piping ตาม API 570) แม้ว่าอุณหภูมิจะมีการเปลี่ยนแปลงออกนอกช่วง CUI range ระหว่างใช้งานก็ตาม (Cyclic temperature service)
..
2)  จุดที่จะเกิด CUI คือจุดที่น้ำกับอากาศสามารถผ่านเข้าไปใน Insulation ได้ นั่นก็คือ จุดต่อ Instrument ซึ่งยื่นออกมาจาก Insulation ที่ด้านบนของท่อ 
3) Dissimilar material jointing ระหว่างท่อ Carbon steel กับ Instrument ที่เป็น Stainless ทำให้บริเวณรอยต่อของท่อที่เป็น Carbon Steel เกิด Corrosion รุนแรงมากขึ้น เนื่องจากผลของ Galvanic corrosion
..
.
ถ้าเจอแบบนี้ตอนที่ Shutdown อยู่ ก็ตัดเปลี่ยนไปเลยครับ...มีโอกาสแล้ว
by Mo Thanachai 


วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2561


Where Leak occur in Water Steel Pipe and What Happened ???

Corrosion in Water Steel Pipe

รูปแรก; เป็นท่อน้ำ Steel Pipe ซึ่งบริเวณที่มีแผ่น plate แปะอยู่และมีน๊อตยื่นออกมา คือจุดที่มีการรั่วเกิดขึ้นและมีการซ่อมโดยตัดแผ่น Plate มาปะแล้วเชื่อมปิดรอยรั่วไว้ (Fillet Weld Patch)
เรามาลองมาสังเกตกันดูว่าบริเวณไหนที่มีการรั่วเกิดขึ้นมากที่สุด ???
..
.
ด้านบน (Top) กับ ด้านล่าง (Bottom) ของท่อ
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เกิดอะไรขึ้นภายในท่อน้ำนี้ ???

ในรูปที่สอง;

1. บริเวณที่มี Air Gap ด้านบนของท่อ จะเกิด Corrosion เยอะ ที่ตรง Interface ระหว่างอากาศกับน้ำ เนื่องจากปริมาณ Oxygen ในน้ำและอากาศมีความแตกต่างกัน จึงทำให้เกิด Oxygen Concentration Cell Corrosion (Galvanic Corrosion) ขึ้น

2. ตะกอนและสนิมเหล็กจะกองอยู่ที่ด้านล่างของท่อและเกิดเป็น Corrosion ในรูปแบบของ Under-deposit Corrosion

สองจุดนี้จะมี Corrosion ที่รุนแรงกว่าบริเวณอื่น เราจึงพบการรั่วเกิดขึ้นมากกว่าที่บริเวณอื่นนั่นเอง
ลองสังเกตและก็เอามาแชร์กันดูนะครับ
by Mo Thanachai 


วันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2561

Galvanic Corrosion at Dissimilar Welded Connection between Carbon Steel and Stainless Steel Pipping;
หลายคนคงทราบกันว่า ถ้าเราเอาท่อ Carbon Steel มาเชื่อมต่อกับท่อ Stainless Steel จะเกิด Corrosion ที่มีชื่อว่า Galvanic Corrosion ขึ้นกับท่อที่เป็น Carbon Steel
.
..
แล้วไอ้ Galvanic Corrosion ที่ว่ามันหน้าตาเป็นยังไง? วันนี้เลยเอารูปมาดูกันให้เห็นให้หายข้องใจครับ

สำหรับ Galvanic Corrosion หากเรานำวัสดุสองชนิดมาต่อกัน วัสดุตัวที่ Active กว่า ใน Galvanic Series จะเป็นตัวที่ถูกกัดกร่อน (สูญเสียอิเล็กตรอน) ดังนั้นเมื่อเราเอาท่อ Carbon Steel มาต่อกับท่อ Stainless Steel, ท่อ Carbon Steel ซึ่ง Active กว่า ก็จะเป็นตัวที่ถูกกัดกร่อน

จากรูปจะเห็นว่า ท่อ Carbon Steel บริเวณที่อยู่ติดกับ Dissimilar joint จะเกิด Corrosion รุนแรงกว่าบริเวณอื่น ทั้งนี้เพราะศักย์ไฟฟ้าที่แตกต่างกันระหว่าง Carbon Steel และ Stainless Steel ทำให้เกิดการถ่ายเทอิเล็กตรอนที่บริเวณรอยต่อของ Dissimilar Metal มีมากกว่าบริเวณอื่น ส่งผลให้เกิด Corrosion ที่รุนแรงขึ้นนั่นเอง

สรุปก็คือ ตรงจุดที่มี Dissimilar Welded Joint มีโอกาสที่จะเกิด Corrosion รุนแรงได้ ยังไงก็อย่าลืมดูแลกันด้วยนะครับ
..
.
อยากรู้เรื่อง Corrosion มากกว่านี้ สอบถามทีม Corrosion Specialist นะครับ
by Mo Thanachai 





วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2561


Leak Test of Reinforcing Pad per API 650
หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า Reinforcing Pad บน Nozzle และ Manholes จะต้องตรวจสอบด้วยวิธีการ Bubble Leak Test โดยอัดความดัน 1 bar เข้าไปที่ด้านหลังของตัว Pad ผ่านทาง Vent hole จากนั้นชโลมน้ำสบู่ลงไปบนแนวเชื่อม Attachment Welds ทั้งหมดของตัว Pad เพื่อตรวจสอบดูว่ามีการรั่วตรงบริเวณแนวเชื่อมหรือไม่.
……
…..
แล้ว “Leak Test ที่ความดัน 1 bar” นี่มันมาจากไหน??? 
….
..
.
API 650 Standard for Atmospheric Storage Tank Construction, Edition.2016, Paragraph 7.3.5 “Inspection of Reinforcing-Plate Welds” ระบุว่า “After fabrication is completed but before the tank is filled with test water, the reinforcing plates shall be tested by applying up to 100 kPa gauge pneumatic pressure between the tank shell and the reinforcement plate on each opening using the telltale hole (vent hole). While each space is subjected to such pressure, a soap film, linseed oil, or another material suitable for the detection of leaks shall be applied to all attachment welding around the reinforcement, both inside and outside the tank.”

นั่นคือใน API 650 Standard ระบุให้ต้องทำ Bubble Leak Test ที่ความดัน 1 bar เพื่อตรวจสอบแนวเชื่อมของ Reinforcing Pad เหมือนกับที่เราเข้าใจ และทำกันมา

รู้ไว้...เผื่อมีคนถามนะครับ

ใครรู้ที่อื่นมาร่วมแชร์กันได้นะครับ
by Mo Thanachai 


วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561


Chloride Cracking on Austenitic Stainless Steel Bonnet and Corrosion Pits on Bellow;

ในรูปเป็น Case ตัวอย่างของ Bonnet และ Bellow ที่พบการรั่วตอนที่ทำ Backpressure Test

Stainless Steel Bonnet เกิดรอยแตก Stress Corrosion Cracking ซึ่งเกิด Chloride Content และน้ำที่อยู่ใน Common Outlet Pipping

ส่วน Stainless Steel Bellow พบเป็น Corrosion Pits เนื่องจาก Chloride Content และน้ำที่อยู่ใน Outlet Pipping เช่นกัน

ยังไงก็อย่าลืมทำ Backpressure Test กันนะครับ
by Mo Thanachai 




วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การทดสอบ Backpressure Test ของ Pressure Relief Valve (PRV)
PRV Backpressure Testing;

พูดถึงการทดสอบ PRV ทุกคนคงรู้จัก (1) Pop Test หรือ Set Pressure Test เป็นการทดสอบว่า PRV จะสามารถเปิดที่ความดัน Inlet Pressure ตามที่ Set ไว้ได้หรือไม่ และ (2) Seat Tightness Test หรือที่เราเรียกกันว่า Leak Test ซึ่งเป็นการทดสอบการรั่วซึมระหว่าง Disc กับ Seat ของตัว PRV หลังจากทำ Pop Test.

แต่สำหรับ Closed Bonnet PRV ที่อยู่ในระบบปิดและไม่ต้องการให้ Fluid ในระบบรั่วออกสู่ภายนอก (Discharge to Closed System) จะต้องทำ Backpressure Test ตาม Requirement ของ ASME BPVC Section VIII, Div.1 ด้วย

Backpressure Test คือการอัดอากาศหรือ Gas ที่ Pressure อย่างน้อย 2 bars ไปที่ฝั่ง Outlet ของ PRV แล้วดูว่า Body, Bonet, Bellow รวมถึง Gasketed Joint และ Connection ต่างๆ มีรั่วซึมหรือไม่ ซึ่งเราจะใช้น้ำสบู่ช่วยในการหารอยรั่ว

การทำ Backpressure Test นั้นยังสามารถตรวจสอบการรั่วของตัว Bellow ได้ หลักการคือถ้าหากมีการรั่วผ่านตัว Bellow เราจะสามารถ Detect ได้ที่รู Vent ของตัว Bonnet

แล้วถ้าเราไม่ทำ Backpressure Test จะมีผลอย่างไร???

การรั่วของตัว Bellow จะทำให้มันไม่สามารถชดเชย Backpressure ได้ตามฟังก์ชัน ส่งผลให้ PRV ไม่สามารถเปิดระบายความดันได้ตรงตาม Set Pressure ที่ตั้งไว้ และการรั่วของ Fluid ในระบบสู่ภายนอกอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม คน หรืออุปกรณ์ที่อยู่ในบริเวณนั้นได้ครับ
by Mo Thanachai