วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562
Hydrogen Cracking in Welding – Mock-Up
Testing;
วันนี้มาต่อกันที่ Mock-up
Testing สำหรับงาน
In-service
welding หรืองานเชื่อม
Online
กันครับ…
สำหรับงานเชื่อม Online
ขณะที่มี
Fluid
ไหลอยู่ภายในท่อหรืออุปกรณ์นั้น
สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องของความปลอดภัย นั่นคือ ต้องไม่เกิด Burn
through
ขณะที่เชื่อม และเมื่อเชื่อมแล้วต้องไม่เกิด
Hydrogen cracking
ตามมา
ซึ่งวิธีการที่ใช้ในการพิสูจน์ก็คือการจำลองงานเชื่อมหรือการทำ Mock-up
test นั่นเอง
ในการทำ Mock-up
test ชิ้นงานต้องมีลักษณะคล้ายหรือ
Represent
กับงานจริง
ในเรื่องของ;
(1) ชนิด
(Material
Spec.) และความหนาของวัสดุ
(2) ความดันภายในอุปกรณ์หรือ
Stress
ที่เกิดขึ้นขณะที่อุปกรณ์
In-service
อยู่
(3)
การเย็นตัวของแนวเชื่อม หรือการไหลของ Liquid
ภายในท่อหรืออุปกรณ์
ซึ่งอาจส่งผลให้แนวเชื่อมเย็นตัวเร็วเกินไป
(4) และการทำ Mock-up
test นั้น
ก็จะเป็นการ Qualify ช่างเชื่อม (Welder)
และ
Welding
procedure
ที่จะนำไปใช้ทำ In-service welding จริง
อีกด้วย
มาดู Slide
ด้านขวามือ
เป็น Requirement
ใน AMSE
PCC-2 Repair of Pressure Equipment and Piping ซึ่งจะบอกเราว่าชิ้นงาน Mock-up
test
จะต้องถูกนำไปทดสอบด้วยวิธีการอะไรบ้าง เพื่อดูความแข็งแรง สมบูรณ์ ของแนวเชื่อม (Fillet
weld)
รวมถึงดูว่าบริเวณ Heat affected zone (HAZ) มีโครงสร้างที่แข็งเปราะหรือไม่ ซึ่งวิธีการทดสอบก็จะ
ได้แก่ Bend Test, Nick Break Test,
Metallography, และ
Hardness
Test ครับ
การจำลองการเชื่อมหรือ Mock-up
test จะช่วยให้เรามั่นใจว่าจะสามารถทำงานเชื่อม
Online
ได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัย
อย่าลืมว่าการทำงานอย่างปลอดภัยสำคัญที่สุดครับ…
วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562
In-Service Welding – Hydrogen Cracking;
สัปดาห์ก่อนเราพูดถึงเรื่อง Hydrogen
Cracking ในงานเชื่อมทั่วไป
วันนี้จะมาเล่าต่อถึง
Hydrogen cracking ในงานเชื่อม
Online
ขณะที่อุปกรณ์ยังใช้งานอยู่
หรือ “In-Service
Welding”
ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
ในงานเชื่อม Online
หรือ
In-service
welding จะต่างจากงานเชื่อมปกติ
ตรงที่มีการไหลของ Liquid อยู่ภายในท่อหรืออุปกรณ์ตลอดเวลา
ซึ่งการไหลของ Liquid ภายในอุปกรณ์ก็จะช่วยพาความร้อนออกไปจากแนวเชื่อม
ทำให้แนวเชื่อมเย็นตัวได้เร็วขึ้นและลดโอกาสการเกิด Burnthrough
ขณะที่เชื่อมได้
แต่ทั้งนี้
การที่แนวเชื่อมเย็นตัวเร็วเกินไปนั้น ก็จะทำให้เราได้โครงสร้างแข็งและเปราะ
(แตกง่าย) ที่บริเวณ Heat affected zone ของแนวเชื่อม
(Coase
grain HAZ)
สำหรับ Hydrogen
cracking กับงาน
In-service
welding นั้น…
(1) โดยทั่วไป
ปริมาณ Hydrogen เราสามารถลดได้โดยใช้วิธีการเชื่อมที่มี
Hydrogen
ต่ำ
(2) ส่วนการเย็นตัวของแนวเชื่อม
เราจะต้องมาพิจารณาถึงขั้นตอนการเชื่อม และความเร็วของ Liquid
ที่ไหลอยู่ภายในอุปกรณ์นั้นๆ
ยกตัวอย่างใน API
RP 577 Welding Inspection and Metallurgy แนะนำให้ภายในท่อขณะเชื่อม Flow
rate ของ
liquid
ต้องไม่เกิน 1.2 m/s
เพื่อป้องกันแนวเชื่อมเย็นตัวเร็วเกินไป
ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจ
เราอาจจะต้องทำการจำลองการเชื่อม หรือทำ Mock-up
Test ดูว่า Welding
Procedure ที่เราจะนำไปใช้งานนั้น
มีความเหมาะสมกับหน้างานจริง สามารถเชื่อมได้แนวเชื่อมที่มีความแข็งแรงสมบูรณ์
และมีคุณสมบัติตามที่เราต้องการจริงๆ
วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562
Hydrogen Cracking in Welding - Part 3
Prevention;
เมื่อวานเรารู้ถึง Critical
factors ที่ทำให้เกิด
Hydrogen
Cracking กันแล้ว
นั่นก็คือ Hydrogen, Tensile Stress, และ Hard
Brittle Weld Structure
เมื่อรู้สาเหตุเราก็จะเห็นว่ามันสามารถป้องกันได้
ดังนี้ …
1. Preheat
:
ช่วยทั้งในเรื่องของการไล่ความชื้นออกจากชิ้นงานก่อนทำการเชื่อม
และยังช่วยให้ชิ้นงานเย็นตัวช้าลงหลังจากเชื่อมเสร็จ ซึ่งก็จะทำให้ Hydrogen
สามารถแพร่ออกมาจากแนวเชื่อมได้
รวมถึงยังป้องกันไม่ให้แนวเชื่อมมีลักษณะแข็งและเปราะ (แตกง่าย) ได้อีกด้วย
2.
Low Hydrogen Welding Processes and/or Electrode :
เลือกใช้วิธีการเชื่อมและลวดเชื่อมแบบที่เป็น
Low
hydrogen ก็จะสามารถช่วยลดปริมาณ
Hydrogen
ที่จะเข้าไปในแนวเชื่อมได้
3.
Clean and Free from contamination :
ทำความสะอาดชิ้นงานให้ดีก่อนเชื่อม
ก็จะช่วยลดปริมาณ Hydrogen ที่อยู่ในสิ่งปนเปื้อนต่างๆ
ลงได้เช่นกัน
4.
Good Fit-up :
การ Fit-up
ที่ดี
จะช่วยลด Tensile stress ที่จะเกิดขึ้นจากงานเชื่อมได้
5.
Heat Input :
การเพิ่ม Heat
input จะช่วยให้ชิ้นงานเย็นตัวช้าลงหลังจากเชื่อมเสร็จ
จึงสามารถลดการขึ้นของแนวเชื่อมที่มีลักษณะแข็งและเปราะได้
แต่อันนี้ต้องระวังอาจจะมีผลเสียอื่นมาแทน
6.
Post Weld Heat Treatment (PWHT) :
ช่วยลด Tensile
stress ที่เกิดขึ้นจากงานเชื่อม
และการให้ความร้อนหลังจากเชื่อมเสร็จยังทำให้
Hydrogen
สามารถแพร่ออกมาจากแนวเชื่อมได้อีกด้วย
ทั้งหมดนี้ก็เป็นวิธีในการป้องกันไม่ให้เกิด
Hydrogen
Cracking ในงานเชื่อมครับ
ผิด ถูก หรือ มีความเห็นยังไง
มาร่วมแชร์ กันได้นะครับผม
by Mo Thanachai วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562
Hydrogen Cracking in Welding - Part 2
Critical Factors;
จากโพสก่อนเราได้รู้จัก Hydrogen
Cracking กันไปแล้ว
ซึ่งก็จะเห็นว่ามีปัจจัยสำคัญ (Critical
Factors)
อยู่ 3
อย่างด้วยกันที่จะทำให้เกิด
Hydrogen
Cracking
…
1. Hydrogen ที่อยู่ในแนวเชื่อม:
มาจากความชื้น (H2O) ที่อยู่ใน Flux ของลวดเชื่อม, ใน Electrode, ในอากาศ, รวมถึงคราบน้ำมัน จารบี และสิ่งสกปรกอื่นๆ ที่อยู่บนชิ้นงาน
..
2. Tensile Stress หรือ ความเค้นแรงดึงที่เกิดจากงานเชื่อม:
เกิดจากการหดตัวของแนวเชื่อมขณะที่มันเย็นตัวลง
.
3. Hard Brittle Weld Structure หรือ บริเวณ Heat Affected Zone (HAZ) ของแนวเชื่อมที่มีลักษณะแข็งและเปราะ:
ซึ่งอาจเกิดจากชิ้นงานที่มีปริมาณ Carbon และ Alloy ผสมอยู่ในปริมาณที่สูง จะทำให้แนวเชื่อมแข็งและเปราะ,
และอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญก็คือ การเย็นตัวของแนวเชื่อม ถ้าแนวเชื่อมเย็นตัวเร็ว (Fast Cooling Rate) ก็จะทำให้แนวเชื่อมแข็งและเปราะได้เช่นกัน
.
..
To be continue …
พรุ่งนี้จะมาพูดถึงวิธีการป้องกันไม่ให้เกิด Hydrogen Cracking กันต่อนะครับ
by Mo Thanachai
…
1. Hydrogen ที่อยู่ในแนวเชื่อม:
มาจากความชื้น (H2O) ที่อยู่ใน Flux ของลวดเชื่อม, ใน Electrode, ในอากาศ, รวมถึงคราบน้ำมัน จารบี และสิ่งสกปรกอื่นๆ ที่อยู่บนชิ้นงาน
..
2. Tensile Stress หรือ ความเค้นแรงดึงที่เกิดจากงานเชื่อม:
เกิดจากการหดตัวของแนวเชื่อมขณะที่มันเย็นตัวลง
.
3. Hard Brittle Weld Structure หรือ บริเวณ Heat Affected Zone (HAZ) ของแนวเชื่อมที่มีลักษณะแข็งและเปราะ:
ซึ่งอาจเกิดจากชิ้นงานที่มีปริมาณ Carbon และ Alloy ผสมอยู่ในปริมาณที่สูง จะทำให้แนวเชื่อมแข็งและเปราะ,
และอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญก็คือ การเย็นตัวของแนวเชื่อม ถ้าแนวเชื่อมเย็นตัวเร็ว (Fast Cooling Rate) ก็จะทำให้แนวเชื่อมแข็งและเปราะได้เช่นกัน
.
..
To be continue …
พรุ่งนี้จะมาพูดถึงวิธีการป้องกันไม่ให้เกิด Hydrogen Cracking กันต่อนะครับ
by Mo Thanachai
วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562
Hydrogen Cracking, Hydrogen Induced
Cracking, Hydrogen Assisted Cracking, Cold Cracking, Delayed Cracking in Welding
- Part 1;
ในงานเชื่อม หลายคนน่าจะรู้จัก “Hydrogen
Cracking” หรือ
“Hydrogen
Assisted Cracking” หรือจะเรียกว่า
“Hydrogen
Induced Cracking”
ก็หมายถึงสิ่งเดียวกัน นั่นก็คือ การแตกของแนวเชื่อมเนื่องจาก Hydrogen
Hydrogen
Cracking จะเกิดตอนที่แนวเชื่อมเย็นตัวลงแล้ว
เลยถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า “Cold
Cracking”
ทำไมถึงเป็น Cold
Cracking ???
ทั้งนี้เพราะว่า…
ความร้อนจากงานเชื่อม ทำให้เหล็ก
(Steel)
ขยายตัว รวมถึงทำให้
Hydrogen
อะตอม
แพร่กระจายเข้าไปอยู่บริเวณขอบเกรนของวัสดุ จากนั้นมันจะรวมตัวกันเป็น
Hydrogen
โมเลกุล
หรือ Hydrogen
gas (H2) และที่อุณหภูมิต่ำกว่า
200 C เหล็กจะหดตัวลงทำให้
Hydrogen
ไม่สามารถออกมาได้ จึงทำให้เกิดความดันขึ้นภายในเนื้อเหล็ก และเมื่อมารวม Tensile
stress ที่เกิดจากงานเชื่อม
เลยทำให้ชิ้นงานเกิดรอยแตกหรือ
Cracks ขึ้นได้
Cracks
มักเกิดที่ตรงบริเวณ Heat
Affected Zone ที่มีเกรนหยาบ (Coase
grain HAZ) เนื่องจากจุดนี้จะมีความแข็ง (Hardened) แต่เปราะ และมี
Hydrogen
เข้าไปสะสมได้มากกว่าจุดอื่น
Hydrogen
นั้นอาจต้องใช้เวลาถึงประมาณ
24
– 72 ชั่วโมง
ในการเคลื่อนที่และรวมตัวกัน จนทำให้เกิด Cracks
ในที่สุด
เราจึงเรียก Hydrogen Cracking
ในอีกชื่อหนึ่งว่า “Delayed Cracking”
ทั้งหมดนี้ก็เป็นการอธิบายคร่าวๆ
เกี่ยวกับ Hydrogen Cracking ในงานเชื่อม
ท่านใดมีอะไรเพิ่มเติมก็มาร่วมแชร์กันได้นะครับ…
by Mo Thanachai
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)