วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2560

Replace Cracked Tank Shell Plate Section per API 653 – Shell-to-Bottom Weld;
ใน Case มีเป็นการตัดเปลี่ยน Section ที่มีความเสียหาย (Crack) ของ Tank Shell Plate บริเวณที่ติดกับ Tank Bottom ซึ่งตาม API 653 มีข้อกำหนดสำหรับ Shell-to-Bottom Weld ดังนี้

1. ให้ตัดแนวเชื่อม Shell-to-Bottom Weld ให้เลยออกไปจากแนวเชื่อม Vertical ใหม่ อีกอย่างน้อย 12 inches

2. ให้ตัดแนวเชื่อม Shell-to-Bottom Weld เลยออกไปหรือหยุดให้ห่างจากแนวเชื่อมของ Bottom Plate อย่างน้อย 3 inches หรือ 5 เท่าของความหนา Shell (เลือกค่าที่มากกว่า) เช่นเดียวกับแนวเชื่อม Vertical ใหม่ต้องห่างจากแนวเชื่อมของ Bottom Plate อย่างน้อย 3 inches หรือ 5 เท่าของความหนา Shell เช่นกัน

3. ในการ Replace Shell Plate ให้เชื่อม Shell-to-Bottom Weld ตอนท้ายสุด

4. เพื่อให้มั่นใจว่าแนวเชื่อม Shell-to-Bottom Weld เก่า ส่วนที่ติดกับแนวเชื่อมใหม่ ไม่มี Crack เกิดขึ้น ให้ทำ VT และ PT/MT ที่แนวเชื่อมเก่าออกไปอีก 6 inches


วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2560

Repair of Cracked Stainless Steel Tank Roof (Mix);
ภาพในมุมกว้างของแต่ละวิธีในการ Repair Crack บน Tank Roof ที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ครับ
by Mo Thanachai 



วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560

Repair of Cracked Stainless Steel Tank Roof (Case 4);

Case 4 เป็นกรณีที่ Crack ทะลุผนังของ Roof Plate และเมื่อเราเจียร Crack ออกแล้วจะเกิดเป็น Groove ขึ้น กรณีนี้เราจะใช้ Backing Plate ยึดติดกับลวดแล้วสอดเข้าไปจากทางด้านบนของ Roof Plate เพื่อใช้เป็น Backing สำหรับงานเชื่อม Weld Metal Buildup ให้ได้ความหนาของ Roof Plate ตาม Required Thickness ครับผม
by Mo Thanachai 




วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

Repair of Cracked Stainless Steel Tank Roof (Case 3);
สำหรับใน Case 3 นี้ เป็นกรณีที่ Cracks อยู่ใกล้กันเป็นกลุ่ม ตรงบริเวณใกล้แนวเชื่อมของ Support Plate และเมื่อเราเจียรออกจนหมดแล้ว พบเกิดเป็นหลุมขนาดกว้างและทะลุผนังของ Roof Plate ดังนั้นใน Case นี้เราจึงเลือกใช้ Weld-on Patch Plate โดยเปลี่ยน Support Plate ใหม่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อปิดหลุมที่เกิดขึ้นครับ



วันพุธที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2560

Repair of Cracked Stainless Steel Tank Roof (Case 2);
ในกรณีที่เราเจียร Crack ออกจนหมดแล้ว พบว่าความหนาของ Roof ที่เหลืออยู่น้อยกว่า Required Thickness ก็จะทำการเตรียม Groove สำหรับงานเชื่อม และเชื่อมเติม Weld Metal ลงไปเพื่อ Buildup ความหนาของ Tank Roof โดยในงานเชื่อมซ่อมนี้ก็จะมีการทำ PT ที่ First Weld Pass กับ Completed Weld ครับ
by Mo Thanachai 



วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2560

Repair of Cracked Tank Roof (Case 1);
Stainless Steel Tank Roof (Self Supporting Type) เกิด Crack เนื่องจาก Corrosion Under Insulation

งานซ่อมใน Case นี้ เมื่อเราเจียร Crack ออกจนหมดแล้ว พบว่าความหนาของ Roof ที่เหลืออยู่ยังมากกว่า Required Thickness ก็จะทำการแต่ง Groove ให้มีลักษณะเป็น Smooth profile/contour เพื่อลดการเกิด Stress concentration และอาจจะมีการ Fill ด้วย Reinforced Epoxy เพื่อเสริมความแข็งแรงและทำให้ผิดเรียบเสมอกัน ครับ