วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

Mitigation of CUI Damage using “Personnel Protective Cage”;

Heat Exchanger ในภาพแรกทำไมถึงต้องมีกรงครอบอยู่ ???

ที่ Heat exchanger ต้องมีกรงครอบอยู่ ก็เพื่อป้องกันไม่ให้คนไปสัมผัสโดนตัวอุปกรณ์ที่มีความร้อน ซึ่งความร้อนที่เริ่มเป็นอันตรายต่อผิวของคนเราคือที่อุณหภูมิสูงกว่า 60 C นั่นหมายความว่า Heat exchanger ตัวนี้ถูใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่า 60 C เลยต้องป้องกันคนไปโดนโดยใชกรงลวดครอบตัวอุปกรณ์ไว้ กรงลวดที่ครอบตัวอุปกรณ์แบบนีเราเรียกมันว่า “Personal Protective Cage” ครับ 

แล้ว Personal protective cage เกี่ยวข้องกับ CUI อย่างไร ???

CUI คือ Corrosion Under Insulation ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้เกิด CUI ก็คือไม่ต้องมี Insulation”

เป็นหลักการที่ดูเหมือนจะเล่นๆ แต่ทำได้จริงสำหรับในท่อบาง Line และอุปกรณ์บางตัว ซึ่งถ้าเราสามารถทำได้ก็จะเป็นการป้องกัน CUI และลดงานตรวจสอบ CUI ไปได้ตลอดกาล

ท่อและอุปกรณ์ในโรงงานนั้นหุ้ม Insulation ด้วยหลายเหตุผล เช่น เป็น Process requirements, Heat conservation, Fire protection, Noise, Preventing freezing or condensation แลในบางกรณีเราจะพบว่ ท่อและอุปกรณ์บางตัวนั้นหุ้ม Insulation เพื่อใช้เป็น Personnel protective หรือเพื่อป้องกันไม่ให้คนมาสัมผัสโดนเพียงอย่างเดียว 

การเลือกใช้ Insulation เพื่อเป็น Personnel protective นั้นจะทำให้เกิดปัญหา CUI ตามมาด้วย ดั้งนั้นถ้าหากเราสามารถระบุได้ว่าท่อหรืออุปกรณ์ไหนบ้างที่หุ้ม Insulation เพื่อวัตถุประสงค์ใการเป็น Personnel protective เพียงอย่างเดียว เราก็จะสามารถที่จะพิจารณาเปลี่ยนมันเป็น Personal protective cage แทนได้ ซึ่งก็จกำจัดปัญหา CUI ออกไปด้วย (เพราะมันไม่มี Insulation แล้ว) หรือแม้แต่ในเฟของการ Design เรก็สามารถออกแบบให้ใช้เป็น Personal protective cage ตั้งแต่แรกได้เลยเช่นกัน

ลองพิจารณากันดูนะครับว่าตรงไหนบ้าง ที่จะสามารถเปลี่ยนจาก Insulation เป็น Personnel protective cage ได้
(อย่างไรก็ตาม อย่าลืมพิจารณากันให้รอบด้านนะครับ)
by Mo Thanachai 






วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562

CUI on Deadlegs in Cold Piping 1;

ในภาพเราจะเห็นว่าท่อ Main ที่ออกจาก Pump มีน้ำแข็งเกาะหนา แต่ท่อที่ Branch ออกไปยัง Pressure gauge กลับไม่มีน้ำแข็งเกาะอยู่เลย และยังสามารถเห็นได้ว่ามี Corrosion Under Insulation หรือ CUI เกิดขึ้นที่ท่อ Branch ตรงส่วนที่ห่างออกมาจาก Main line

ท่อชุดนี้ใช้งานที่อุณหภูมิต่ำกว่า -12 C ซึ่งตาม API RP 574 บอกว่าท่อ Carbon steel และ Low-alloy steel ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า -12 C จะไม่เกิด CUI แต่ท่อที่ Branch ไปยัง Pressure gauge มันมีลักษณะเป็น Deadlegs หรือก็คือว่ามันไม่มี Fluid flow นั่นเอง ด้วยเหตุนี้ความร้อนจากภายนอกที่ถ่ายเทมายังท่อจึงสามารถทำให้ท่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น และเกิด CUI ได้ (ไม่มีน้ำแข็งเกาะแสดงว่าอุณหภูมิมากกว่า 0 C แน่นอน)

ตอนวางแผนตรวจสอบ CUI ก็อย่าลืมคิดถึง Deadlegs กันด้วยนะครับ
by Mo Thanachai 


วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2562

Pressure-Vacuum Relief Valve Testing for Storage Tanks – Part 2 Seat Leakage Test;

มาต่อจากครั้งที่แล้วเรื่องการทดสอบ Pressure-Vacuum Relief Valve ของ Storage tank กันครับ

นอกจากการทดสอบ Set Pressure (Vacuum) ที่ได้แชร์ไปครั้งก่อนแล้ว  API Standard 2000 ยังบอกถึงวิธีการทำ Seat Leakage Test ไว้ว่า

(1) ทำให้ความดันหรือ Vacuum ภายใน Test tank มีค่าไม่ต่ำกว่า 75% ของค่า Set Pressure (Vacuum) แล้วดูปริมาณการไหล (Flow) ของอากาศที่รั่วผ่าน Seat ของตัว Pressure-Vacuum relief valve โดยอัตราการรั่ว (Leak rate) ที่ยอมรับได้ หรือ Maximum Allowable Leak Rate นั้นก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของตัว Valve ถ้า Valve size ใหญ่ Allowable leak rate ก็จะมากขึ้นตามตารางครับ และถ้าหากค่า Leak (Flow) rate ที่วัดได้น้อยกว่าค่าในตารางก็จะถือว่า ผ่าน ครับ
.
หรือ (2) ปรับปริมาณการไหล (Flow) ของอากาศ จนกระทั่งสามารถอ่านค่า Leak (Flow) rate ได้ตามตาราง แล้วถึงค่อยมาดู Pressure (Vacuum) ที่เกิดขึ้นภายใน Test tank เป็นเท่าไร? ถ้าหากมีค่ามากกว่า 75% ของ Set Pressure (Vacuum) ก็ถือว่า “ผ่าน” เช่นกันครับ
..
สรุปแบบง่ายๆ ว่าสำหรับการทดสอบ Breather valve, Pressure relief valve, หรือ Vacuum breaker ของ Storage tank ทั้ง Set pressure test และ Seat leakage test ก็ให้ใช้ API 2000 และ Manual ของตัว Valve อ้างอิงในการทดสอบนะครับ
...
ร่วมแสดงความคิดเห็นหรือ Share กันมาได้ครับ ว่าพวกเราทำอย่างไรกันบ้าง
by Mo Thanachai 


วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562

Pressure-Vacuum Relief Valve Testing for Storage Tanks - Part 1 Set Pressure/Vacuum Verification;

ถ้าพูดถึงถัง Storage Tank หลายคนน่าจะรู้จัก Breather Valve ที่อยู่บนหัวถัง (Roof) กันเป็นอย่างดี

Breather Valve หรือ Pressure-Vacuum Relief Valve (PVV) นั้นจะมีหน้าที่ ระบายความดันภายในถัง (Pressure relief) ไม่ให้เกินค่าที่ถังจะทนได้ อีกทั้งยังทำหน้าที่ดูดอากาศเข้ามาภายในถังเพื่อป้องกันการเกิด Vacuum ขึ้นภายในถัง (Vacuum relief) จนทำให้ถังบุบ ซึ่ง Storage Tank บางตัวอาจจะมี Vacuum relief valve หรือที่เรียกกันว่า Vacuum breaker แยกกันกับ Pressure relief valve

คำถามคือแล้วเราจะทดสอบ Pressure-Vacuum Relief Valve ของ Storage Tank นี้กันอย่างไร? สามารถใช้วิธีการเหมือนกับ Pressure safety valve ของ Pressure Vessel ได้หรือไม่?

คำตอบคงต้องย้อนกลับมาดู Storage Tank ที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่นั้น ถ้าหากสร้างตาม API Standard 650 สำหรับ Atmospheric Storage Tanks หรือ API Standard 620 สำหรับ Low-Pressure Storage Tanks แล้วละก็ Pressure-Vacuum relief valve จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ API Standard 2000; Venting Atmospheric and Low-pressure Storage Tank

แล้ว API Standard 2000 กล่าวถึงการทดสอบไว้ว่าอย่างไร?

API 2000 บอกว่าให้ทดสอบ Verify Set Pressure (Vacuum) ก่อนที่จะนำไปใช้งาน ตาม End user’s standards and practices โดยทำให้เกิดความดันหรือ Vacuum ขึ้น ภายใน Test tank และดูว่าตัว Pressure-Vacuum relief valve ทำงานเมื่อ Pressure (Vacuum) ภายใน Test tank มีค่าเป็นเท่าไร (ดูรูปประกอบนะครับ)

ซึ่งในคู่มือหรือ Manual ของผู้ผลิตหลายเจ้าเลือกใช้ค่า Acceptable Tolerance เท่ากับ +/-10% ของค่า Set Pressure (Vacuum) ครับ

ตัวผมเองตอนนี้ก็ใช้ค่า Tolerance +/-10% เช่นกันครับ หากท่านใดมีข้อมูลอื่นๆ มาร่วมแชร์กันได้นะครับ
..
.
มีต่อ Part 2 เกี่ยวกับ Leakage Test ในครั้งหน้าครับ
by Mo Thanachai