วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563


Inspection of Corrosion Under Fireproofed Skirt;
ในการตรวจสอบ Pressure Vessel แน่นอนว่าส่วนต่างๆ ของ Vessel ที่รับความดันไม่ว่าจะเป็น Shell, Head, หรือ Nozzle เป็นส่วนสำคัญที่เราจำเป็นต้องตรวจสอบ แต่การตรวจสอบ Structural Support ที่รองรับตัว Vessel นั้นไว้ก็สำคัญไม่แพ้กัน

โดยวันนี้จะมาพูดถึงการตรวจสอบ Corrosion ที่เกิดขึ้นกับ Fireproofed Skirt ซึ่งเป็น Structural Support ของตัว Tower หรือ Pressure Vessel โดย Corrosion รูปแบบนี้มีชื่อเรียกว่า “Corrosion Under Fireproofing หรือ CUF”

CUF คือ Corrosion ที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างเหล็ก (Steel Structural Support) ที่อยู่ภายใต้คอนกรีตทนไฟ (Concrete Fireproofing) ซึ่งใช้ปกป้องโครงสร้างเหล็กในกรณีที่เกิดไฟไหม้ขึ้น

CUF เกิดขึ้นจากการที่มีน้ำหรือความชื้นซึมผ่าน Concrete เข้าไปสัมผัสกับโครงสร้างเหล็กที่อยู่ภายในแล้วทำให้เกิด Corrosion ขึ้น และเมื่อเกิด Corrosion ก็จะมีสนิม (Corrosion Product) เกิดขึ้น ซึ่งการที่มีสนิมเกิดขึ้นภายใต้ Concrete มันก็จะไปทำให้ Concrete บวม แตก หรือ หลุดล่อน ได้

ใน API RP 572 Pressure Vessel Inspection Practice พูดถึง ร่องรอยที่บ่งบอกว่า Skirt ของเราน่าจะมี CUF เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งสามารถดูได้จาก;
(1) รอยแตกของ Concrete ที่มีความกว้างมากกว่า 0.25 in หรือ 6.35 mm, แล
(2) รอยแตกที่มีการเคลื่อนที่หรือขยายตัว
(3) การบวมของ Concrete
(4) คราบสนิมบนผิวของ Concrete

ดังนั้นการตรวจสอบด้วยวิธี Visual บวกกับการขูด (Scraping) บริเวณรอยแตกดู ก็จะสามารถบอกเราได้ว่าที่บริเวณไหนมีโอกาสเกิด CUF ขึ้นแล้ว รวมไปถึการเคาะเบาๆ บน Concrete (เพื่อฟังเสียง) ก็จะสามารถบอกได้ว่าบริเวณไหนที่ Concrete เริ่มหลุดจากผิวโครงสร้างเหล็กภายใน (lack of bond) หรือบริเวณไหนมีการบวมเกิดขึ้นแล้ว

และถ้าหากตรวจสอบเจอร่องรอยของ CUF บน Concrete ก็ใหทำการตรวจสอบต่อที่ตัว Skirt โดยการกะเทาะเอา Concrete ออก หรือใช้ Advanced NDT Method – Pulsed Eddy Current (PEC) เพื่อตรวจสอบความรุนแรงของ Corrosion ที่เกิดขึ้กับตัว Skirt โดยไม่ต้องกะเทาะเอา Concrete ออกได้ครับ

ทีนี้ลองสังเกตดูรอยแตกของ Concrete Fireproofing ที่บริเวณ Skirt ของ Column หรือ Vessel กันดูนะครับ อาจจะมี Corrosion ซ่อนอยู่ข้างในก็เป็นได้

by Mo Thanachai 



วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2563

Corrosion inside Dummy legs (Trunnions) – Part3 Inspection ;

มาถึงตอนสุดท้าย เป็นเรื่องการตรวจสอบ Dummy Legs หรือ Trunnions Support
(ใครที่ยังไม่ได้อ่าน Part 1 กับ Part 2 สามารถดูเลื่อนลงไปดูได้ใน Page นี้หรือใน Blog ของ MHH ได้เลยนะครับ)

การตรวจสอบ Dummy leg support นั้นประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลักๆ คือ

(1) การตรวจสอบด้วยวิธี Visual เพื่อมองหา :
- ความเสียหาย, Corrosion, กาบิดเบี้ยวเสียรูป, สีเสื่อมสภาพ,
- Crevice corrosion ตรซอกที่ Dummy leg วางอยู่บน Structural support,
- ดูว่า Drain hole ของตัว Dummy leg ต้องไม่อุดตันหรืมีอะไรมาขวาง รวมถึงตำแหน่งของ Drain hole ต้องไม่วางอยู่บน Structural support,
- และที่สำคัญภายในตัว Dummy leg ไม่ควรจะมีน้ำขังอยู่ครับ.

(2) การตรวจสอบเพื่อประเมินความรุนของการกัดกร่อนที่เกิดขึ้น โดยเราสามารถดูได้จากความหนาของ Support หรือ Pipe ที่หายไป (Corrosion/Thickness Loss) ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเราก็จะสามารถใช้วิธีการวัดความหนาที่เหลืออยู่ (Remaining Thickness) ของ Support หรือ Pipe ด้วยวิธี UTM (Ultrasonic Thickness Measurements) หรือ pRT (Profile Radiography)

ที่สำคัญคือเราควรจะต้องวัดความหนาของทั้งตัว Support และ Pipe โดยในการวัดความหนาของ Pipe นั้น เราจะต้องวัดที่ตำแหน่งกึ่งกลาง (Center) ของ Pipe ที่ Dummy leg ถูกเชื่อมติดอยู่ และวัดตรงบริเวณที่ใกล้กับขอบ (Near the edge) ของแนวเชื่อม (ดูรูปประกอบนะครับ)

เราจะเห็นว่าวิธีการตรวจสอบ Dummy leg support โดยใช้ profile RT มีความเหมาะสมกว่า โดยเฉพาะในกรณีที่ Dummy leg ยาวหรือเป็นแบบปลายปิด (closed end) ซึ่งทำให้วิธี UTM นั้นจะไม่สามารถใช้ได้

ก็จบแล้วสำหรับเรื่อง Corrosion inside Dummy legs ลองไปตรวจสอบ Dummy leg support กันดูนะครับ

by Mo Thanachai 



วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2563

Corrosion inside Dummy legs (Trunnions) – Part2 Drain Hole on Support;

มาเล่าต่อจากเมื่อวาน ที่บอกว่าการออกแบบ Dummy leg support ที่ดีนั้น ควรจะต้องเป็นแบบปลายปิด (Closed end) เพื่อป้องกันความชื้นและสิ่งแปลกปลอมเข้าไปขัง และต้องมี Drain hole ที่ด้านล่างของ Dummy leg โดยตำแหน่งของ Drain hole นั้ต้องไม่วางอยู่บน Structural Support

คำถามคือ ถ้า Drain hole วางทับอยู่บนโครงสร้า Support จะเกิดอะไรขึ้น ?
สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ Drain hole จะดูดน้ำหรือความชื้นที่ขังอยู่ระหว่างตัว Dummy leg กับโครงสร้าง Support เข้าไป และทำให้เกิด Corrosion รุนแรงขึ้นกับท่อที่เราใช้งานอยู่ได้ โดยที่เราคาดไม่ถึง

ในรูปเป็นการตรวจสอบผิวของท่อที่อยู่ภายในตัว Dummy leg โดยใช้ (Digital) Profile RT โดย Dummy leg ตัวนี้ มี Drain hole วางอยู่บน Support ซึ่งเราจะเห็นว่ามี Corrosion รุนแรงเกิดขึ้นกับผิวของท่อ Active piping ทำให้ความหนาลดลงจาก 6.16 mm. เหลือเพียง 3.75 mm.

ดังนั้นต่อไปนี้ถ้าเราเห็น Dummy leg support เป็นแบบปลายปิด ก็อย่าลืมดูด้วยนะครับว่า Drain hole อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมรึเปล่า?

เรื่องงานตรวจสอบมาต่อครั้งหน้านะครั...

by Mo Thanachai 





วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563

Corrosion inside Dummy legs (Trunnions) – Part1 Design ;

ในการตรวจสอบภายนอก (External Visual) ของ Piping ตาม API Inspection Code ส่วนของ Pipe Support ก็จำเป็นที่ต้องตรวจด้วย เนื่องจาก Pipe Support เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักและการขยับตัวของท่อ

Dummy Legs หรือ Trunnions เป็น Pipe Support ที่ทำมาจากการนท่อตรงสั้นมาเชื่อมติดกับท่อที่ใช้งาน (Active Piping) โดยแบบเก่าจะเป็นปลายเปิดหรือ Open-ended Design ซึ่งมันมีข้อเสีย (โดยเฉพาะกับ Horizontal Dummy Legs) ก็คือ น้ำ, ความชื้น, เศษสิ่งสกปกรหรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ สามารถเข้าไปอยู่ข้างในได้, รวมถึงสัตว์อื่นๆ เช่น นก ก็สามารถเข้าไปทำรังได้ สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้เกิด Corrosion ที่รุนแรงขึ้น ทั้งกัตัว Dummy leg support เอง และกับท่อที่ใช้งานอยู่ได้ (ดูรูปผ่าท่อประกอบนะครับ)
แล้ว Design ของ Dummy Legs ที่ดีควรจะเป็นอย่างไร?

(1) Dummy Leg ด้านที่เป็นปลายเปิดควรจะถูกเชื่อปิดด้วย Pipe Cap หรือ Plate เพื่อป้องกันน้ำ, ความชื้น, และสิ่งแปลกปลอมเข้าไป

(2) ให้เจาะรู Drain ขนาด Diameter ไม่น้อยกว่า 1/4 in. หรือ 6 mm. ไว้ที่ด้านล่างของ Dummy leg เพื่อใช้ในการระบายความดัน (Venting) โดยตำแหน่งของ Drain hole ต้องไม่วางอยู่บน Support นะครับ
ถึงตอนนี้ลองนึกถึง Dummy Legs ที่เคยเห็นมากันดูนะครับ ว่าเป็นแบบไหน?

เดี๋ยวพรุ่งนี้จมาเล่าเรื่อง Dummy Leg ต่อนะครับ...

by Mo Thanachai 




วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2563


Inspection Deferral per API Inspection Code;

ตอนนี้ COVID-19 มีผลกระทบกับการทำงานของเราเป็นอย่างมาก มาตรการความปลอดภัยต่างๆ ถูกนำมาใช้ ทำให้หลายหน้าที่ต้องหยุดงานชั่วคราว หลายคนต้อง Work From Home หรือต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดต่าง รวมถึงแผนงานบางอย่างที่ต้องถูกเลื่อนออกไป ไม่เว้นแม้แต่งานตรวจสอบอุปกรณ์ในโรงงาน (In-service inspection)

วันนี้เรามาดูกันว่าถ้าหากต้องเลื่อนงานตรวจสอบอุปกรณ์ Pressure Vessel และ Piping ออกไปก่อน เพราะไม่สามารถที่จะทำได้ภายในแผนที่วางไว้, API Inspection Code (API510, API570) มีแนวทางอย่างไรกันบ้าง

ตาม API การเลื่อนแผนการตรวจสอบอย่างง่าย (Simplified Deferral of Inspection Due Date) สามารถทำได้โดยมีเงื่อนไขคือ:

(1) ต้องเป็นการเลื่อนแผนครั้งแรก (1st  time)
(2) แผนที่เลื่อนออกไปต้องมีระยะเวลาไม่เกิน 10% ของแผนการตรวจสอบ (Inspection Interval) เดิม และต้องไม่เกินกว่า 6 เดือนด้วย
(3) Review operating condition และประวัติของอุปกรณ์ ซึ่งผลที่ได้จะต้องสนับสนุนการ Deferral
(4) การเลื่อนแผนต้องเป็นการเห็นชอบร่วมกันระหว่างผู้ตรวจสอบ (Inspector) และตัวแทนของฝ่ายผลิต (Operation manager representative) อันนี้สำคัญเพราะการที่เราเลื่อนแผนการตรวจสอบออก อาจจะมีผลให้อุปกรณ์เสียหายโดยที่เราไม่ทราบล่วงหน้า ดังนั้นจึงต้องแจ้งให้ทางฝ่ายผลิตเห็นชอบก่อน
(5) ต้องทำการเลื่อนแผนให้เสร็จก่อนที่จะถึงกำหนดตรวจสอบ (Inspection Due Date)
(6) ทำการเลื่อนแผนเสร็จแล้วต้อง Record ว่าจะเลื่อนไปเป็นเมื่อไร, Review ข้อมูลแล้วเป็นอย่างไร, และเห็นชอบโดยใคร

ทั้งนี้ถ้าหากเป็นการเลื่อนแผนที่มีระยะเวลามากกว่า 6 เดือน, เป็นการเลื่อนครั้งที่ 2 หรือไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของ Simplified Deferral ด้านบน เราจะต้องมี Action เพิ่มเติม นั่นคือ:

(+1) ต้องทำการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) หรือ Update RBI Assessment (ถ้ามีแผนตาม RBI อยู่แล้ว) แล้วมาดูว่าความเสี่ยง ณ วันที่เราจะทำการเลื่อนไปนั้นสามารถยอมรับได้หรือไม่
(+2) ก่อนที่จะถึงกำหนดตรวจสอบใหม่ เราอาจจะต้องมี Action อื่นๆ เพิ่มเติมเช่น การควบคุม operating condition, การ Modify อุปกรณ์ หรือการตรวจสอบอื่นๆ เข้ามาช่วย

สำหรับสถานการณ์ตอนนี้หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์นะครับ #เราจะผ่านมันไปด้วยกัน

by Mo Thanachai 


วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

PWHT Zone for Local Heat Treatment of ASME B31.3 Pipping;

ในงานตัดเปลี่ยนหรืองาน Modify ท่อ ASME B31.3 Piping อาจจะต้องมีทำ Post Weld Heat Treatment (PWHT) หลังงานเชื่อม เพื่อลด Stress ตกค้างที่เกิดจากงานเชื่อม รวมไปถึงลดความแข็งและเพิ่มความเหนียวให้กับแนวเชื่อม โดยการใช้ Heating Band พันรอบแนวชื่อมเอาไว้ (Local Heat Treatment)

สำหรับอุณหภูมิที่ต้องใช้ในการทำ PWHT (Holding Temperature Range) และระยะเวลาที่ต้องคงอุณหภูมินั้นไว้ (Holding Time) เราสามารถดูได้จาก Qualified Welding Procedure (WPS) ที่จะนำมาใช้ในงานเชื่อมนั้นๆ ได้

แน่นอนว่าตรงแนวเชื่อมเราต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วง PWHT Temperature แต่คำถามคือ แล้วรอบๆ แนวเชื่อมเชื่อมละ เราต้องควบคุมอุณหภูมิด้วยรึเปล่า? ถ้าต้องควบคุมจะต้องครอบคลุมบริเวณไหนบ้าง?” 

ในการทำ PWHT บริเวณมี่เราต้องควบคุมอุณหภูมิให้ได้ตาม PWHT Temperature เราเรียกว่า Soak Band (SB) หรือ PWHT Zone

ซึ่งงานเชื่อม Process Piping ตาม ASME B31.3 นั้น กำหนดให้ PWHT Zone หรือ Soak Band (SB) จะต้องความกว้างเท่ากับ :

(1) อย่างน้อย 3 เท่า ของความหนาท่อ โดยที่ให้แนวเชื่อมอยู่ตรงกลาง ของ Soak Band สำหรับแนวเชื่อมตามเส้นรอบวง (Circumferential)

(2) และสำหรับแนวเชื่อมของ Nozzle หรือ Attachment ที่ต่อกับท่อหลัก (Run Pipe), Soak Band จะต้องมีความกว้างอย่างน้อย 2 เท่าของความหนาท่อหลัก ยื่นออกไปในแต่ละด้านของแนวเชื่อม และต้องพันรอบท่อหลักด้วย

จากข้อกำหนดเรื่องความกว้างของ Soak Band เราจะเห็นว่าขนาดของ Heating band ที่เลือกใช้ รวมไปถึงการกำหนดตำแหน่งของ Control Thermocouple และ Monitoring Thermocouple ให้เหมาะสม (ไม่ใช่ติด Thermocouple แค่ตรงแนวเชื่อม แต่ต้องติดตรงขอบของ Soak Band ด้วย) เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ทั้งผิวด้านนอกและด้านในของท่อของ Soak Band จะอยู่ภายใต้อุณหภูมิ PWHT Temperature ที่ระบุไว้ใน WPS ครับ

ยังไงก็อย่างลืมขอดูและรีวิว PWHT Procedure ก่อนทำงานทุกครั้งนะครับ

by Mo Thanachai