Welded Joint Category in ASME Section VIII, Div.1;
หลายคนคงเคยเห็นรูปภาพ Vessel
ตัวนอนที่มีลูกศรชี้
A,
B, C,
D
ตาม
Welded
Joints ต่างๆ
หรือ Figure
UW-3
ที่อยู่ใน
ASME BPVC Section VIII, Div.1 “Rules for
Construction of Pressure Vessels” รูปภาพใน
Figure
UW-3
เป็นการแบ่งกลุ่มของแนวเชื่อม
(Welded
joint)
ใน
Pressure
vessel
ตามตำแหน่งของที่อยู่ของแนวเชื่อม
โดยจะแบ่งเป็น Category A, B
,C, และ
D
ASME Section VIII ไม่ได้แบ่งกลุ่มของแนวเชื่อมตามรูปแบบ (Type) ของแนวเชื่อม เช่น Single Bevel หรือ Double bevel แต่จะแบ่งกลุ่มตามตำแหน่ง (Location) ของแนวเชื่อมที่อยู่ใน Vessel และชิ้นส่วน (Part) ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกัน โดยเราสามารถดู Welded Joint Category ของแนวเชื่อมที่ตำแหน่งต่างๆ ใน vessel ได้จากในรูป Figure UW-3 และคำอธิบายใน Paragraph UW-3 โดยแนวเชื่อมจะถูกแบ่งกลุ่มแบบคร่าวๆ ได้ดังนี้
Category
A
= แนวเชื่อมตามยาว
(Longitudinal
welds) ของ
Shell
และ
Nozzle,
แนวเชื่อมของ
Head,
และแนวเชื่อมระหว่าง
Hemisphere
head กับ
shell
Category
B
= แนวเชื่อมตามขวาง (Circumferential
welds) ของ Shell
และ
Nozzle,
และแนวเชื่อมระหว่าง
Head
กับ
Shell
(ยกเว้น
Hemisphere
head)
Category
C
= เป็นแนวเชื่อมที่ติดกับตัว
Flange
Category
D = เป็นแนวเชื่อมของ
Nozzle หรือ
Manhole
ที่ติดกับตัว
Vessel
ทำไม ASME ต้องแบ่ง
Welded
Joint Category ???
ทั้งนี้ก็เพื่อให้ง่ายต่อการกำหนดเงื่อนไข
รูปแบบของแนวเชื่อม รวมไปถึงการตรวจสอบแนวเชื่อมอีกด้วย
ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าส่วนหนึ่ง
ASME
ต้องการแบ่งความสำคัญ
(Criticality) ของแนวเชื่อมที่ตำแหน่งต่างๆ
กันใน Vessel
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น
แนวเชื่อมตามยาว (Longitudinal
welds) ของ Shell
กับ
Nozzle
ซึ่งเป็นรูปทรงกระบอก
(Cylinder)
จะต้องรับ
Stress
ที่เกิดขึ้นจากความดันภายในของ
Vessel
เป็น
2
เท่าของแนวเชื่อมตามขวาง
(Circumferential
welds) ดังนั้น ASME
จึงให้
Long. welds
เป็น Cat.
A ส่วน
Circ.
welds เป็น
Cat.
B และก็กำหนดให้แนวเชื่อมที่เป็น
Category
A
มีเงื่อนไข
รูปแบบ และการตรวจสอบที่เข้มงวดกว่าแนวเชื่อมที่เป็น
Category
B
อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือแนวเชื่อมระหว่าง
Shell
กับ
Hemisphere
head ถูกกำหนดให้เป็น
Cat. A แต่แนวเชื่อมระหว่าง
Shell
กับ
Head
รูปร่างอื่นๆ
เช่น Ellipse
head
เป็น
Cat.
B ทั้งนี้เพราะรูปทรงครึ่งวงกลมหรือ
Hemisphere
สามารถรับแรงดันได้ดี ดังนั้นที่
Design
Pressure เดียวกัน
Hemi. head จะต้องการความหนาน้อยกว่า
Head
รูปร่างอื่นๆ
มาก
(ประมาณครึ่งหนึ่งของ
Ellipse
head) เพราะ
Hemi.
Head มันบางแต่สามารถใช้รับ
Pressure
เยอะได้
แนวเชื่อมระหว่าง
Shell
กับ
Hemi.
head จึง
Critical
กว่า
และถูกกำหนดให้เป็น Cat. A แต่กับ Head
รูปร่างอื่นๆ
ก็จะเป็น Cat. B
ถึงตอนนี้คงรู้จัก
Welded
Joint
Category กันแล้ว
ก็หวังว่าจะทำให้เข้าใจข้อกำหนดเกี่ยวกับงานเชื่อม (Welding
Requirement) สำหรับ
Pressure
Vessel ใน
ASME
Section VIII
กันมากขึ้นนะครับ
by Mo Thanachai
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น