ทั้งนี้เพราะว่า…
ความร้อนจากงานเชื่อม ทำให้เหล็ก
(Steel)
ขยายตัว รวมถึงทำให้
Hydrogen
อะตอม
แพร่กระจายเข้าไปอยู่บริเวณขอบเกรนของวัสดุ จากนั้นมันจะรวมตัวกันเป็น
Hydrogen
โมเลกุล
หรือ Hydrogen
gas (H2) และที่อุณหภูมิต่ำกว่า
200 C เหล็กจะหดตัวลงทำให้
Hydrogen
ไม่สามารถออกมาได้ จึงทำให้เกิดความดันขึ้นภายในเนื้อเหล็ก และเมื่อมารวม Tensile
stress ที่เกิดจากงานเชื่อม
เลยทำให้ชิ้นงานเกิดรอยแตกหรือ
Cracks ขึ้นได้
Cracks
มักเกิดที่ตรงบริเวณ Heat
Affected Zone ที่มีเกรนหยาบ (Coase
grain HAZ) เนื่องจากจุดนี้จะมีความแข็ง (Hardened) แต่เปราะ และมี
Hydrogen
เข้าไปสะสมได้มากกว่าจุดอื่น
Hydrogen
นั้นอาจต้องใช้เวลาถึงประมาณ
24
– 72 ชั่วโมง
ในการเคลื่อนที่และรวมตัวกัน จนทำให้เกิด Cracks
ในที่สุด
เราจึงเรียก Hydrogen Cracking
ในอีกชื่อหนึ่งว่า “Delayed Cracking”
ทั้งหมดนี้ก็เป็นการอธิบายคร่าวๆ
เกี่ยวกับ Hydrogen Cracking ในงานเชื่อม
ท่านใดมีอะไรเพิ่มเติมก็มาร่วมแชร์กันได้นะครับ…
by Mo Thanachai
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับจารย์โม
ตอบลบเป็นประโยชน์มากครับผม